"เราประกาศให้ท่านรู้ถึงสิ่งที่เราได้เห็น" (1ยน. 1:3)

หนังสือบุตรสิรา

อารัมภบทของผู้แปลa

            1เราทั้งหลายได้รับคำสอนสำคัญต่างๆหลายเรื่อง เป็นมรดกมาทางหนังสือธรรมบัญญัติ หนังสือประกาศก 2และข้อเขียนอื่นๆbที่ตามมา 3อิสราเอลจึงสมควรได้รับคำสรรเสริญเพราะการอบรมสั่งสอนที่ชาญฉลาด 4ผู้ที่อ่านและคุ้นเคยกับหนังสือเหล่านี้ไม่ควรมีความรู้เพียงเพื่อตนเองเท่านั้น     5แต่เมื่อมีความรู้แล้ว เขาก็ควรให้ความรู้นี้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วย 6อาศัยทั้งคำพูดและข้อเขียน 7เพราะเหตุนี้ เยซูปู่ของข้าพเจ้าจึงใช้เวลานาน เอาใจใส่ 8อ่านหนังสือธรรมบัญญัติ 9หนังสือประกาศก 10และข้อเขียนอื่นๆของบรรพบุรุษ 11เขาจึงมีความคุ้นเคยอย่างดีกับหนังสือเหล่านี้  12และปรารถนาจะเขียนบางสิ่งเพื่ออบรมสั่งสอนให้ผู้อื่นมีปรีชาญาณ 13ผู้ที่รักปรีชาญาณและคุ้นเคยกับคำสอนเหล่านี้ 14จะได้ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นในการดำเนินชีวิตถูกต้องตามธรรมบัญญัติ

          15ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเชิญชวนท่านทั้งหลาย 16โปรดตั้งใจ 17อ่านข้อเขียนนี้ 18และให้อภัย 19ในกรณีที่ดูเหมือนว่า 20ข้าพเจ้าไม่อาจแปลข้อความได้ตรงความหมาย ทั้งๆที่ได้พยายามอย่างดีที่สุดแล้ว 21-22ทั้งนี้ก็เพราะว่า ข้อความที่พูดเป็นภาษาฮีบรูนั้นอาจจะมีความหมายไม่เหมือนเดิมเมื่อแปลออกมาเป็นภาษาอื่น 23ยิ่งกว่านั้น ไม่เพียงแต่ข้อเขียนนี้เท่านั้น 24แต่หนังสือธรรมบัญญัติ หนังสือประกาศก 25และข้อเขียนอื่นๆ 26ก็ยังมีความแตกต่างอยู่ไม่น้อยเมื่ออ่านในภาษาเดิมด้วย

          27ปีที่ 38 รัชสมัยกษัตริย์เอวแอร์เกเตสc 28ข้าพเจ้าได้มาที่ประเทศอียิปต์ และระหว่างที่อยู่ที่นั่น 29ได้พบข้อเขียนฉบับนี้dที่มีคุณค่ามากในการสั่งสอน 30ข้าพเจ้าจึงคิดว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่ข้าพเจ้าจะเอาใจใส่และยอมลำบากบ้างเพื่อแปลหนังสือฉบับนี้ 31ข้าพเจ้าใช้เวลาทั้งกลางวันและกลางคืนศึกษาเต็มความสามารถ 32ศึกษาตลอดเวลา 33เพื่อแปลหนังสือฉบับนี้จนสำเร็จ 34จะได้เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่อยู่ต่างประเทศ ซึ่งต้องการจะศึกษาหาความรู้ 35และปรับปรุงตนให้พร้อมที่จะดำเนินชีวิตตามธรรมบัญญัติ.

อารัมภบท  a ผู้แปลหนังสือบุตรสิราเป็นภาษากรีกได้เขียนข้อความที่เป็นอารัมภบทนี้เพิ่มไว้ตอนต้นของหนังสือ พระศาสนจักรไม่คิดว่าอารัมภบทนี้เป็นข้อความที่ได้รับการดลใจจากพระเจ้า

b “หนังสือธรรมบัญญัติ หนังสือประกาศก และข้อเขียนอื่นๆ” สำนวนนี้เป็นสำนวนที่ชาวยิวใช้หมายถึงพระคัมภีร์ทั้งหมดของตน (= พันธสัญญาเดิม) เพราะเขาแบ่งหนังสือต่างๆในพระคัมภีร์เป็น 3 หมวด (ดู 1 มคบ 12:9 เชิงอรรถ c) สำนวนนี้ยังพบได้อีกในข้อ 8-10, 24-25  นักวิชาการไม่แน่ใจว่าในศตวรรษที่ 2 ก.ค.ศ. เมื่อบุตรสิราเขียนหนังสือของตนนี้ พระคัมภีร์แต่ละหมวดมีหนังสือครบดังที่เรารู้จักในปัจจุบันนี้หรือยัง

c “กษัตริย์เอวแอร์เกเตส” คงหมายถึงกษัตริย์โทเลมีที่ 7 Euergetes Physcon ซึ่งครองราชย์ในช่วงเวลาปี 170-117 ก.ค.ศ. ดังนั้นปีที่ 38 ของรัชกาลนี้จึงตรงกับปี 132 ก.ค.ศ.

d “พบข้อเขียนฉบับนี้” แปลโดยคาดคะเน เพราะคำนี้ในภาษากรีกเป็นคำคุณศัพท์ซึ่งแปลว่า “ไม่เหมือน” – แต่ในที่นี้ใช้เป็นคำนาม

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

Sinapis เมล็ดพันธุ์แห่งพระวาจา

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก